ภาพกิจกรรมค่าย เยาวชนพัฒนาอาชีพ (กิจกรรมเพาะเห็ด) โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อ.ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 4-7 เมษายน 2555


ภาพกิจกรรมค่าย เยาวชนพัฒนาอาชีพ (กิจกรรมเพาะเห็ด) โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อ.ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 4-7 เมษายน 2555
ภายหลังจากที่มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชนและคณะกรรมการกองทุนการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ตลอดจนคณะครูของโรงเรียนได้ร่วมกันพาเด็กจำนวน 20 คนลงพื้นที่ศึกษาดูงาน การพัฒนาอาชีพที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อบุญเพ็ง คำเลิศ ที่บ้านนาทุ่งพัฒนา หมู่ 14 อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 แล้วนั้นมูลนิธืพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชนได้จัดทำโครงการกิจกรรมค่ายเยาวชนพัฒนาอาชีพ เพาะเห็ดขึ้นที่ โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อ.ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม กิจกรรมดังนี้
1.)เด็กเยาวชนเป็นนักเรียนในโรงเรียนบ้านหนองใหญ่จำนวน 20 คน
2.)เด็กเยาวชนในชุมชนที่เป็นเด็กโต จำนวน 11 คน
3.)ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นที่สนใจการเพาะเห็ด จำนวน 14 คน

โดยมีพ่อบุญเพ็ง คำเลิศ ปราชญ์ชาวบ้านร่วมเป็นวิทยาการอาชีพ

มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่มเด็กเยาวชนในเป้าหมายชาวบ้านในชุมชนเป้าหมายและผู้บริหารกองทุนการศึกษาฯตลอดจนคณะครูของโรงเรียน มีเป้าหมายเพื่อสร้างกลุ่มเยาวชนในท้องถิ่นและพัฒนากองทุนการศึกษาให้ เติบโตและเข้มแข็ง โดยใช้กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านงานพัฒนาอาชีพเป็นเครื่องมือในการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายนั้น

การสร้างกระบวนการและการบริหารจัดการในกิจกรรมค่ายเยาวชนพัฒนาอาชีพ (เพาะเห็ด) ของมูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชน



กิจกรรมวันที่ 4 เมษายน 2555

มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชน (ม.พศช.)ประกอบด้วยคุณวุฑฒี เย็นฤดี ผู้จัดการมูลนิธิฯ
 คุณ มลฤดี วิริยานนท์ ผู้ปฎิบัติงานมูลนิธิฯ คุณวัฒนา วงศ์วิริยะ ผู้บริหารงาน ส่วนพัฒนาบุคคลากร พ.ศ.ช.กรุ๊ป จำกัด
ผู้บริหารกองทุนการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ ประกอบไปด้วย อาจารย์เนตรนภา สาระวรรณ ผ.อ.โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อาจารย์ เกษมศานส์ ศรีโพนทอง อาจารย์ วราวุฒิ  คำชัย
อาจารย์ วีระพันธ์ สานนท์
ประชุมร่วมกัน โดยมี อาจารย์ เนตรนภา สาระวรรณ    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ ได้ให้เกียรติเป็นประธานในที่ประชุมเพื่อปรึกษาหารือในการกำหนด แผนการอบรมและการจัดค่ายเยาวชนที่จะมีขึ้นในวันที่ 5-7 เมษายน 2555



 




เด็กๆนักเรียนในโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ กำลังเก็บกวาดทำความสะอาดในบริเวณโรงเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดงานกิจกรรมค่ายอบรมเยาวชน บรรยากาศคึกคักยิ่ง





อาจารย์ เนตรนภา สาระวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ ท่านก็ได้ลงมือทำความสะอาด ตระเตรียม พื้นที่ในบริเวณที่จัดกิจกรรมร่วมกับเด็กๆนักเรียนด้วยตัวของท่านเอง น่าภูมิใจจริงๆ







ส่วนชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นและครูในโรงเรียนก็มาร่วมกันปลูกสร้างโรงเพาะเห็ดที่ได้มาตรฐานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย





ในที่สุดจากการร่วมแรงร่วมใจของทุกๆคน เราก็ได้โรงเพาะเห็ดที่ได้มาตราฐานและความสวยงาม

กิจกรรมวันที่ 5 เมษายน 2555







ทั้งเด็กนักเรียนเยาวชนในโรงเรียน เด็กเยาวชนในชุมชนและชาวบ้านในชุมชนต่างทะยอยเข้ามาลงทะเบียนเพื่อเข้าค่ายกิจกรรมอบรมเยาวชนพัฒนาอาชีพอย่างมีระเบียบ







คุณนรา โพธิ์สิงห์ ประธานกองทุนการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ กล่าวเปิดค่ายเยาวชนพัฒนาอาชีพพร้อมให้โอวาทแก่เด็กๆเยาวชนที่มาเข้าค่าย





พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ ปราชญ์ชาวบ้าน ในฐานะวิทยากรอาชีพ กำลังอธิบายขั้นตอนและวิธีการเพาะเห็ดชนิดต่างๆตลอดจนการดูแล เห็ด แก่เยาวชนและชาวบ้านในชุมชนทุกคนต่างสนใจกันมาก





หลังจากเรียนรู้กระบวนการเพาะเห็ดเพื่อให้เห็นภาพรวมของการเพาะเห็ดแล้ว ก็เข้าสู่กระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กๆเยาวชนได้มีโอกาศเรียนรู้การบริหารจัดการกลุ่มในระหว่างการใช้ชีวิตอยู่ในค่ายเยาวชนแห่งนี้





พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ กำลังอธิบาย สูตรผสมเพื่อทำเชื้อเห็ด ซึ่งการเพาะเห็ดประเภทนี้เรียกว่า ชนิดใส่ถุงพลาสติก

ขั้นตอน / กระบวนการ เพาะเชื้อเห็ดลงสู่ถุงพลาสติก


เตรียม อุปกรณ์เกี่ยวกับการเพาะเห็ดดังนี้

1.ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 8. ดีเกลือ
2.ถุงพลาสติกขนาด 6 1/2 x 12 1/2       9.ปูนขาว
3.คอขวดพลาสติก   10.แอลกอฮอล์ 70%(ฆ่าเชื่อ)
4.สำลี  11.แอลกอฮอล์ 100%(ติดไฟ)
5.ตะเกียง12.กระดาษ ตัดขนาด 10x10 ซม.     
6.ยางวงเล็ก 13.รำอ่อนละเอียด
7.ยิปซัม 14.หัวเชื้อเห็ด








(1.)นำวัสดุต่างๆตามรายละเอียดในกระดานตามภาพดังนี้ 1.)ขี้เลื้อย 100 ก.ก/5ถุงปุ๋ย 2.)ปูนขาว 2 ก.ก.
3.)ดีเกลือหน้าร้อน 2.5ขีด 4.)ยิปซัมหน้าร้อน 3 ขีด 5.)รำข้าวละเอียด 10 ก.ก. จำนวน 5 ชนิดนำส่วนผสมดังกล่าว ลงผสมให้เข้ากันตามสูตรในปริมาณและสัดส่วนที่กำหนดโดยคลุกเคล้าให้ทั่ว ในระหว่างนี้ให้เลือกเก็บเศษไม้ที่ปนอยู่ในขี้เลื่อยออกให้หมดเพราะอาจเป็นอันตรายต่อถุงพลาสติกเมื่อเวลาบรรจุลงถุงอาจเจาะถุงทำให้ถุงแตกได้
สิ่งที่ควรระวังในขั้นตอนนี้คือ ต้องคลุกเคล้าให้ทั่วอย่าให้ขึ้เลื่อยจับตัวเป็นก้อน ส่วนผสมข้างต้นจะได้ ก้อนถุงเห็ด120 ถุงโดยประมาณ
สูตรและส่วนผสมดังกล่าวนี้ ใช้กับการเพาะเห็ด 5 ชนิดคือ
1.)เห็ดนางฟ้า 2.)เห็ดนางรม 3.)เห็ดขอนขาว 4. )เห็ดเป้าฮือ และ 5.)เห็ดหูหนู ส่วนการเพาะเห็ดชนิดอื่นๆนอกจากนี้ ก็จะมีสูตรผสมขี้เลื่อยวัสดุและสัดส่วนที่แตกต่างออกไปจากที่กล่าวมานี้



  




2.)เมื่อคลุกเคล้าส่วนผสมดีแล้วนำน้ำสะอาดที่ปราศจากคลอรีน หากน้ำที่นำมาใช้มีกลิ่นคลอรีน ให้นำไปพักไว้ในถังทิ้งไว้ประมาณ 24 ชม.แล้วค่อยนำไปใช้ แล้วผสมส่วนผสมทุกส่วนให้เข้ากัน ใส่น้ำจน สามารถจับ ขี้เลื่อยเป็นก้อนได้

วิธีสังเกตุ เวลาเอามือกำแล้วบีบให้แน่น ต้องไม่มีน้ำซึมออกมา และจับตัวเป็นก้อน หากขี้เลื่อยผสมไม่จับตัวเป็นก้อนแสดงว่าความชื้นน้อยไป ต้องผสมน้ำลงไปอีกจนกว่าจะได้ที่หากบีบแล้วมีน้ำซึมออกมามาก ต้องผสมขี้เลื่อยเพิ่ม










3.)เมื่อคลุกเคล้าส่วนผสมและน้ำจนเข้ากันดีแล้วให้ นำขวดพลาสติกตัดเป็นรูปปากฉลาม ตักขี้เลื่อยผสมลงในถุงพลาสติกกระเทาะถุงใส่ขี้เลื่อย ให้สามารถใส่คอขวดพลาสติกได้ บรรจุให้ได้น้ำหนักแล้วกระแทกให้แน่น ประมาณ 1 ก.ก. ต่อ 1 ถุง






4.)จากนั้นให้นำคอขวดพลาสติกซึ่งผลิตโดยเฉพาะสำหรับการเพาะเห็ดหาซื้อได้ตามร้านเกษตรทั่วไป นำมาสวมลงไปที่ปากถุงตามรูป




5.)จากนั้นให้พับปากถุงครอบปิดลงตรงคอขวด ตามรูป ในระหว่างนี้ต้องค่อยจับปากถุงและคอขวดพร้อมกระแทกให้แน่นอีกครั้ง







6.)จากนั้นให้นำสำลีหรือใยผ้านวม อุดลงในปากถุงคอขวด ตามรูปแล้วกดลงให้แน่น







7.)จากนั้นนำเอากระดาษหรือหนังสือพิมพ์ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมปิดคอขวดพร้อมนำหนังยางรัดคอขวด รอนึ่งเพื่อการฆ่าเชื้อต่อไป







8.ขั้นตอนการนึ่ง ให้เตรียมเตานึ่ง ถ้าไม่มีเตานึ่งเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ให้หาถังน้ำมัน ขนาด 200 ลิตร นำมาจุดไฟเผาในถังเพื่อไล่คราบน้ำมันที่อาจมีติดอยู่ในถังให้ออกหมดเสียก่อน
จากนั้นนำตระแกรงไม้ตามรูปใส่ลงในถังน้ำมันพร้อมเทน้ำสะอาดใส่ลงในก้นถัง กะปริมาณน้ำให้ต่ำกว่าพื้นตะแกรงนิดหน่อย ความสูงของตระแกรงจากก้นถังประมาณ 25 -30 ซ.ม. ตามรูปนำก้อนอิฐซีเมนต์บล็อกหนุนใต้ถังทำเป็นเตาเผา








9.นำถุงเห็ดใส่ในถัง ชั้นละ 24 ถุง ในแนวตั้งวางเรียงเป็นชั้นๆจนล้นปากถังแล้วนำเอากระสอบผ่า1 ด้าน ล้างสะอาดมาคลุม ควรเจาะรูเล็กๆ ประมาณ 10 รู เพื่อระบายไอ้น้ำลดแรงกดดันในถังตามรูป








จากนั้นก็นำไม้มาเป็นฟืนจุดไฟใต้ก้นถัง เพื่อนึ่งถุงเห็ดฆ่าเชื้อโรค เพาะเชื้อโรคอาจทำลายเชื้อเห็ดได้

ในขั้นตอนการนึ่งเห็ดนี้ต้องใช้เวลานึ่งประมาณ 3 ช.ม. สังเกตุ ดูจะมีไอน้ำระเหยขึ้นจากรูกระสอบที่เจาะรูเอาไว้







10.)ขั้นตอนการหยอดเชื้อเห็ดลงในถุงเพาะเห็ด
ในขั้นตอนนี้ต้องภายหลังนำถุงเห็ดลงจากเตานิ่งแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง เพื่อให้เย็นตัวลงก่อน แต่ไม่ควรทิ้งเอาไว้ เกิน 3-4 วัน เพราะจะทำให้ความชื้นและภายในถุงเห็ดแห้งลงจนเกินไป

11.)นำเอาเชื้อเห็ดสำเร็จรูปซึ่งมีขายทั่วไปตามตลาดเกษตรทั่วไป ประกอบด้วยเมล็ดข้าวฟ่างหรืออาจเป็น เมล็ดถั่วเหลืองหรือเมล็ดนุ่นขนาดเล็กก็ได้ ซึ่งปกติแล้วทางร้านจำหน่ายจะทำบรรจุลงในขวดแก้วผ่านการนึ่งด้วยความร้อนเป็นเวลา 6 ชั่วโมง โดยมีส่วนประกอบสำคัญอีกตัวหนึ่งคือวุ้นเชื้อเห็ดแต่ละประเภทซึ่งผสมอยู่ในขวดสำเร็จรูปแล้ว
อนึ่ง สูตรผสมข้างต้นที่กล่าวถึงนี้เป็นสูตรที่ใช้กับการเพาะเห็ด 5 ชนิดคือ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดขอนขาว เห็ดเป๋าฮื้อและเห็ดหูหนู
เตรียมยางรถยนตร์ที่ไม่ใช้แล้วมาวางบนพื้น นำขวดเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้เคาะลงบนยางรถยนต์ จนกระทั่ง เมล็ดข้าวฝ่างภายในขวดเริ่มแตกตัวออกไม่จับตัวกันเป็นก้อน








12.)นำแอลกฮอล 75%  เช็ดมือ หากใส่เสื้อแขนสั้นให้เช็ดถึงข้อศอก เพื่อป้องกันเชื้อโรคทำให้เชื้อเห็ดไม่เติบโต







12.หลังจากนำเอาขวดเมล็ดข้าวฝ่างผสมวุ้นเชื้อเห็ดเคาะจนแตกออกแล้วถ้ายังจับเป็นก้อน ให้ใช้ไม้ไผ่เช็ด แอลกฮอล และกระทุ้งอีกครั้งให้เมล็ดแตกตัว








13.จากนั้นนำเอาขวดเชื้อเห็ด รนไฟแล้วก็เช็ดด้วยแอลกฮอล์รอบขวด










14. เมื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคที่คอขวดเชื้อเห็ดเมล็ดข้าวฝ่างดีแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการหยอดเชื้อเห็ดลงในถุงเห็ด ก่อนหยอดเชื้อเห็ดลงในถุงเห็ดให้นำเอาแอลกฮอล์ 75 % เช็ดที่ฝาถุงเห็ดด้านในก่อนอีกครั้ง จากนั้นนำเอาขวดเมล็ดข้าวฝ่างที่มีเชื้อเห็ดผสมอยู่ค่อยๆหยดลงในถุงเห็ดประมาณ 10-20 เม็ด ต่อ 1 ถุงเห็ดจากนั้นให้รีบใส่สำลีหรือเศษผ้านวมลงไปเหมือนเดิมพร้อมกระดาษหนังสือพิมพ์ปิดปากขวดพร้อมรัดด้วยหนังยางเหมือนเดิม







5).หลังจากหยอดเชื้อเห็ดลงในถุงเห็ดแล้ว ควรทิ้งไว้สักพักหนึ่งประมาณ 6-7 ชั่วโมง จากนั้นค่อยๆลำเลียงเข้าไปจัดเก็บลงในโรงเพาะเห็ดเพื่อบ่มถุงเห็ดโดยการเรียงเป็นชั้นๆตามที่แสดงในภาพ


ข้อควรระวัง
1.โรงเห็ดควรมุงด้วยหญ้าแฝกทั้งหลังคาและผนังตัวโรงเพาะเห็ดไม่ควรใช้สังกระสีมุงเพราะจะทำให้ร้อน การมุงด้วยหญ้าแฝกจะทำให้ภายในโรงเพาะเห็ดมีความเย็นชุ่มชื้น สำหรับการเพาะเห็ดขอนขาวควรบุด้วยผ้ายางพลาสติกใต้หลังคาหญ้าแฝกอีกชั้นเพื่อให้ความอบอุ่นบ้าง ถ้าเป็นเห็ดชนิดอื่นไม่ต้อง
2.ควรโรยปูนขาวบริเวณพื้นดินภายในโรงเพาะเห็ดประมาณ 15 วันก่อนเอาก้อนเห็ดเข้าโรงเพาะ แต่จะนำปูนขาวโรยลงพื้นโรงเพาะอีกก็ต่อเมื่อจะเอาถุงเห็ดชุดใหม่เข้าอีกครั้ง

การเตรียมการก่อนเปิดดอกเห็ด
หลังจากนำถุงเห็ดเข้าบ่มในโรงเพาะเห็ดแล้ว เชื้อเห็ดจะเริ่มลงก้อนเห็ด ขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 20 วัน เชื้อเห็ดจะเดินเกือบเต็มถุง ให้สังเกตดูจากจะมีฝ้าขาวเกือบเต็มถุง ให้เอาสำลีออกแล้วใช้แอลกฮอล์ เช็ดที่ด้ามช้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค มาเขี่ยเอาเมล็ดข้าวฝ่างที่ติดเชื้อราและไม่มีเส้นใยเห็ดออกให้หมดส่วนเมล็ดข้าวฝ่างที่ยังมีเส้นใยเห็ดอยู่ห้ามเอาออกเด็ดขาดจากนั้นให้รีบปิดกระดาษหนังสือพิมพ์พร้อมรัดด้วยหนังยางไว้เหมือนเดิม

วิธีการเปิดดอกเห็ด

สังเกตุดูหลังจากเชื้อเดินเต็มถุงแล้ว ให้ทิ้งระยะเวลาไว้อีก 10 วัน แล้ว ให้รดน้ำที่ผสมด้วยน้ำส้มควันไม้ที่พื้นโรงเพาะเห็ดและถุงก้อนเห็ด โดยอย่าเพิ่งเอากระดาษและจุกออก 2-3 วัน แต่ถ้ามีดอกเห็ดมาถุงที่กระดาษขณะรดน้ำให้ดอกกระดาษหุ้มฝาจุกออก เฉพาะถุงก้อนเห็ดนั้นแล้วเก็บดอกเห็ดได้เมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่และให้ปิดกระดาษจุกขวดคืนอีกครั้งเมื่อเก็บดอกเห็ดออกแล้วให้ทำเช่นนี้สัก 2-3 ครั้ง


วิธีเปิดดอกเห็ดขอนขาว
สำหรับเห็ดขอนขาวมีวิธีการเปิดดอกเห็ดเฉพาะซึ่งแตกต่างจากเห็ดชนิดอื่นดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนี้คือ หลังจากเชื้อเห็ดเดินเต็มถุงแล้ว ให้ทิ้งระยะเวลาไว้อีก 10 วันเมื่อครบ 10 วันแล้ว ให้เอาคอขวดออกแล้วดึงปากถุงให้ตรงทิ้ยระยะเวลาอีก 5-7 วัน ตรวจเช็คดูถุงก้อนเห็ด หากพบว่าตรงหน้าถุงก้อนเห็ดเกิดตุ่มดอกเห็ดเล็กๆให้ตัดถุงพลาสติกออกแล้วรดน้ำได้ แต่ถ้าถุงเห็ดก้อนไหนยังไม่เกิดตุ่มดอกเห็ดที่หน้าก้อน อย่าพึ่งตัดพลาสติกออก





ภาพตัวอย่างวิธี ตัดถุงพลาสติกออกให้ต้ดตามตัวอย่างในภาพ

วิธีการรถน้ำถุงก้อนเห็ด
เมื่อพบว่าถุงเห็ดเริ่มเกิดมีตุ่มเห็ดขึ้นแล้วให้รีบเปิดจุกขวดโดยเอาสำลีและกระดาษหนังสือพิมพ์ออก แล้วทำการรดน้ำโดยพ่นเป็นฝอยอาจใช้บัวรถน้ำก็ได้ ดังนี้:

1.นำน้ำส้มควันไม้ผสมน้ำเปล่าสัดส่วนน้ำส้มควันไม้ 1 แก้วต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ้นกันเชื้อราเดือนละ 2 ครั้ง นอกจากนี้น้ำส้มควันไม้ ยังมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยอินทรีย์ด้วย
2.รดน้ำถุงก้อนเห็ด โดยรถด้วยฝักบัวหรือระบบสปริงเกอร์ พ่นก็ได้ หน้าร้อนพ้นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีนปนเปื่อนให้น้อยที่สุด ประมาณ 3 ครั้ง ส่วนหน้าหนาวมากๆ 2-3 วัน ต่อ 1 ครั้ง ก็พอ ถ้าหน้าฝนรดน้ำวัละ 2 ครั้ง ก็พอ
3.เวลารดน้ำระวังอย่าให้น้ำท่วมขังในคอขวดโดยใช้วิธีเดินรด เอียง 45 องศา รด1เที่ยว
และรดพื้นพอประมาณเพื่อช่วยให้ควบคุมความชื้นในโรงเห็ดห้ามฉีดรดน้ำด้วยการเดินหน้า เพราะน้ำจะขังที่ปากถุงเห็ดเป็นอันตรายต่อการออกดอกเห็ดทำให้เห็ดเน่าได้





ข้อควรระวัง
1.)
ในระหว่างเก็บดอกเห็ด ถ้าพบว่าในขอบปากขวดมีรอยสีดำให้เอาสำลีชุบแอลกฺฮอล์ เช็ดในขอบปากขวด เพื่อป้องกันเชื้อราทำลายดอกเห็ด
2.)
น้ำที่ใช้รดหรือพ่นควรเป็นน้ำบาดาลใต้ดิน หากเป็นน้ำประปาควรหรือมีการทิ้งพักไว้ก่อนเพื่อลคลอรีน
3.)
พื้นในโรงเห็ดถ้าโรยด้วยทรายจะดีช่วยเก็บความชื้น
การเก็บเห็ด
เมื่อดอกเห็ดเกิดขึ้นเต็มที่ ให้ทะยอยเก็บดอกเห็ดโดยการเก็บจากข้างล่างขึ้นสู่ด้านบนเพื่อป้องกันเศษฝุ่นและความสกปรกเชื้อโรคตกลงมาสู่ถุงก้อนเห็ดที่อยู่ข้างล่าง





        ดอกเห็ดทะยอย ออกทะลุสำลีที่อุดฝาถุงไว้ พร้อมแล้วที่จะเก็บผลผลิตดอกเห็ดออกจากถุงเห็ด





ก่อนการเก็บดอกเห็ด ต้องนำสำลีชุบแอลกฮอล์เช็ดทำความสะอาดมือและแขนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ตามภาพ



จากนั้นจึงค่อยเก็บดอกเห็ดโดยใช้ด้ามช้อนแคะให้ถึงโคนเห็ดแล้วค่อยๆดึงออกมาจากถึงเห็ดใส่ลงในภาชนะตามภาพ








                                      ส่วนที่เหลือให้ถอดจุกเอาสำลีออกเพื่อเตรียมรดน้ำตามภาพ




            สุดท้ายให้รดน้ำโดยใช้ฝักบัวรดตามหลักเกณฑ์ข้างต้นตามที่กล่าวมาแล้ว ดังแสดงในภาพ



                          พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ กำลังสรุปให้เด็กๆฟังถึงการดูแลโรงเพาะเห็ดอีกครั้งหนึ่ง


กิจกรรมสนุกสนานของเด็กๆเยาวชนในกิจกรรม ค่าย เยาวชน














ความสนุกสนานของเด็กๆเยาวชน และชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการร่วมกันศึกษาเรียนรู้ การเพาะเห็ดและการสร้างโรงเห็ดแล้ว ได้มีกิจกรรมเสริมสร้างกระบวนการกลุ่ม การบริหารจัดการกลุ่มการทดสอบประสิทธิภาพ การบริหารจัดการกลุ่ม การทดสอบความเข้าใจหลังจากการผ่านการฝึกปฎิบัติจริง ว่า มีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด โดยสอดแทรกกิจกรรมเหล่านี้ไปในระหว่างการฝึก เป็นระยะด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเองและสนุกสนาน ตลอดการฝึกอบรม

บทสรุป พบว่า เด็กๆเยาวชนทั้งเด็กเล็กและเด็กโตมีความเข้าใจในขั้นตอนการเพาะเห็ดชนิดต่างๆดีพอสมควร ส่วนชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นที่เข้ามาร่วมศึกษาเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจดีมากเนื่องจากได้มีการปฎิบัติจริงทุกขั้นตอน สามารถถ่ายทอดความเข้าใจในเรื่องการเพาะเห็ดสู่ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
ส่วนประสิทธิภาพการจัดการบริหารของเด็กๆ พบว่ามีความเข้าใจในหลักการบริหารเบื้องต้น แต่ในการปฎิบัติยังไม่สามารถทำได้ดีนัก
อย่างไรก็ตามก็สามารถเป็นจุดเรื่มต้นเพื่อการศึกษาพัฒนาต่อไปได้
มูลนิธิ พศช.ร่วมกับคณะครูโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ ออกแบบโครงสร้างการบริหารจัดการกลุ่มเยาวชน โดยผ่านรูปแบบโครงการเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนโดยการนำเอาโครงสร้างการบริหารจัดการกลุ่มที่มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้มีการดูแลกันเองภายในกลุ่มในระหว่างใช้ชีวิตอยู่ในค่ายอบรมพัฒนาอาชีพนี้ มาใช้เป็นโครงสร้างในกลุ่มโครงการกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ด้วยการดึงเอากิจกรรมการเพาะเห็ดมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเกษตรอินทรีย์ คณะครูที่รับผิดชอบกิจกรรมนี้จะอาศัยกิจกรรมการเพาะเห็ดและเกษตรอินทรีย์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเยาวชนโรงเรียนทั้งในเรื่อง การบริหารจัดการกลุ่ม ความรับผิดชอบดูแลเห็ด และทักษะความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ด

กระบวนการปิดค่ายอบรม



ก่อนปิดค่ายอบรมเยาวชน พัฒนาอาชีพ พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ ได้อธิบายสรุปทบทวนถึงกระบวนการการะเพาะเห็ดชนิดต่างๆตั้งแต่ต้นจนถึง ขั้นตอนสุดท้ายว่ามีอย่างไรบ้างและเปิดโอกาสให้ได้มีการซักถามถึงข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งพ่อบุญเพ็ง คำเลิศ ก็ได้ตอบข้อซักถามเหล่านั้นเป็นอย่างดี


คุณวุฑฒี เย็นฤดี ผู้จัดการมูลนิธิฯ กล่าวขอบคุณ ผู้บริหารกองทุนการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ ตลอดจน ตัวแทนโรงเรียนอื่นๆที่มาร่วมศึกษาเรียนรูร่วมกันในการออกค่ายเยาวชนในครั้งนี้ พร้อมเสนอแนวคิดทางด้านพัฒนาเยาวชนว่ากระบวนการเรียนรู้ไม่ควรหยุดนิ่ง ควรมีการพัฒนาเรียนรู้แบบไม่สิ้นสุดและความรู้ที่แท้จริงย่อมได้มาจากการปฎิบัติเท่านั้น


พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้กับเด็กๆเยาวชนถึงแนวคิดในเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดด้านการเกษตรอินทรีย์ ว่ามีความสำคัญต่อวิถีชุมชนท้องถิ่นในชุมชนอย่างไร





อาจารย์ เนตรนภา สาระวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ และเป็นผู้บริหารกองทุนการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ ได้กล่าวขอบคุณ มูลนิธิฯและหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาร่วมกันถักทอโครงการนี้จนกระทั่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง พร้อมให้โอวาทแก่เด็กๆเยาวชน พร้อมกล่าวปิดค่ายเยาวชนพัฒนาอาชีพ



ประวัติพ่อบุญเพ็ง คำเลิศ

การศึกษา

จบ ประถม 4
มัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก กสน.

ตำแหน่งหน้าที่การงาน

1.)ผุ้ใหญ๋บ้านนาทุ่งพัฒนา ตั้งแต่ ปี พศ.2534-3553 จนเกษียณ
2.)กรรมการประถมศึกษา กศน.อำเภอขุนหาญ เป็นจนถึงปัจจุบัน
3.)อนุกรรมการเกษตร อำเภอขุนขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
4.)ตัวแทนเกษตรหมู่บ้านนาทุ่งพัฒนา
5.)อาสาสมัครช่วยชาวประมง อำเภอขุนขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
6.)อาสาสมัครของพนักงานคุมประพฤติของจังหวัดศรีสะเกษ
7.)วิทยากรอาชีพ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ

รางวัลทางสังคม

1.)รางวัลไร่นาสวนประสม อันดับ 1ของจังหวัดศรีสะเกษ
2.)รางวัลเกษตรกรดีเด่นของจังหวัดศรีสะเกษ
3.)รางวัลเศรษฐกิจพอเพียงอันดับ 1 ของจังหวัดศรีสะเกษซึ่งเป็นรางวัลในโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับภาคอีสาน
4.)รางวัลเศรษฐกิจพอเพียง รางวัลชมเชยในระดับประเทศ ปีพศ.2553