ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษเพื่อทำการสนทนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้



ภายหลังจากที่ผู้บริหารงานมูลนิธิ พศช. ได้ ลงพื้นที่ในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อทำการสนทนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่ม องค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดเพื่อหาแนวทางในการทำงานร่วมกันในการพัฒนา ชุมชนท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 3-4 มีนาคม 2555 นั้น

ประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชน คุณพนัส สวัสดิ์สกุลพงศ์ ได้เปิดประชุม เสวนาการทำงานขึ้นที่ ห้องประชุมของมูลนิธิ พศช. เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดซึ่งในเวทีประชุม ประกอบด้วย คุณวุฑฒี เย็นฤดี ผู้จัดการมูลนิธิฯ คุณวัฒนา วงศ์วิริยะ ผู้บริหารส่วนพัฒนาบุคคลากรบริษัทพศช.กรุ๊ป คุณมลฤดี วิริยานนท์ ผู้ปฏิบัติงานมูลนิธิฯ และคุณ อุดม บัวเกศ ผู้บริหาร ศูนย์การเรียนรู้มหาวิชชาลัยธรรมชาติ จังหวัดศรีสะเกษ
คุณพนัส สวัสดิ์สกุลพงศ์ ได้ให้ความเห็นว่า องค์กรภาคประชาสังคมที่แท้จริงไม่ควรให้น้ำหนักการทำงานที่เป็นการ บริการสงเคราะห์แต่เพียงอย่างเดียว ควรให้น้ำหนักการทำงานไปที่การพัฒนาคน พัฒนาวิธีคิด วิธีการทำงานและพัฒนากระบวนการทำงาน มีการถอดสรุปบทเรียนการทำงาน สร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วมให้กว้างขวาง นั้นคือหัวใจของงานพัฒนาสังคม
ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง สุดท้ายได้ข้อสรุปร่วมกันว่า การจะพัฒนากองทุนการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชนให้เข้มแข็งได้นั้น ต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้กองทุนการศึกษาฯ
มีกิจกรรมในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในโรงเรียน ซึ่งการเติบโตของกลุ่มเด็กและเยาวชนในโรงเรียนนั้นเป็น
เป้าหมาย และหัวใจสำคัญของกองทุนการศึกษาฯ การมุ่งพัฒนากลุ่มเด็ก เยาวชนให้เติบโตเข้มแข็งด้วยสติปัญญา และความสามารถนั้นย่อม ส่งผลโดยตรงให้กองทุนการศึกษาฯเจริญเติบโตและเข้มแข็งตามไปด้วย กิจกรรมใดๆของกองทุนการศึกษาฯไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเยาวชนพัฒนาอาชีพ กิจกรรมเยาวชนดนตรี หรือกิจกรรมเยาวชนการกีฬา กิจกรรมเหล่านี้ ไม่ควรใช้เป็นเป้าหมายแต่ควรมุ่งใช้เป็นเครืองมือในการพัฒนาและจัดระเบียบกองทุนฯ ควรใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเสริมสร้างและพัฒนากลุ่มเยาวชนให้เติบโตและเข้มแข็ง ทั้งพลังกาย พลังใจ และ
พลังความคิด แกร่งด้วยหัวใจแห่งความดี มีจิตสำนึกต่อ ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง รักชุมชนของตน พร้อมที่จะทำงานรับใช้ชุมชนท้องถิ่น พัฒนาชุมชนของตนเองให้เข้มแข็ง
คุณพนัส สวัสดิ์สกุลพงศ์ ได้กล่าวให้ข้อคิดทิ้งท้ายว่าในฐานะที่มูลนิธิ พศช.เป็นองค์กร
สาธารณะประโยชน์ ภาคประชาสังคม มุ่งทำงานด้านงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ควรยึดกุมหลักการนี้ไว้เพราะนี่คือหัวใจของงานพัฒนาสังคม


าพกิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนของกองทุนการศึกษาฯโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อ.ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555


มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชน ประกอบด้วย คุณวุฑฒี เย็นฤดี ผู้จัดการมูลนิธิฯ
อาจารย์ เกษมศาน์ ศรีโพนทอง กรรมการมูลนิธิฯ และคุณ มลฤดี วิริยานนท์ ผู้ปฏิบัติงานมูลนิธิฯ ร่วมกับ
ผู้บริหารกองทุนการศึกษาฯโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูพาเด็ก เยาวชนนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการพัฒนาอาชีพ ที่ศูยน์การเรียนรู้ชุมชน
เศรษฐกิจ พอเพียง” ของพ่อบุญเพ็ง คำเลิศ ที่บ้านนาทุ่งพัฒนา หมู่ 14 .ขุนขันธ์ จ.ศรีสะเกษ







พ่อบญเพ็ง คำเลิศ ปราชญ์ชาวบ้าน คนดังแห่งบ้านนาทุ่งพัฒนากำลังอธิบายถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามปรัชญา แนวคิด ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้กับเด็กๆเยาวชนได้ฟัง


  เด็กๆเยาวชน และคณะครูโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ กำลังให้ความสนใจในสิ่งที่พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ อธิบาย


                   
พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ กำลังอธิบายถึงหลักการนำเอามูลสุกรหมักจากคอกหมูมาทำเป็นก๊าซชีวภาพ โดยส่งมาตามท่อ สามารถจุดแก๊ซให้เกิดไฟหุงต้มอาหารได้ โดยไม่ต้องไปซื้อแก๊สหุงต้มมาจากข้างนอก นับเป็นหัวใจของหลักเศรษฐกิจพอเพียงอันหนึ่ง


   

                                                    พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ กำลังอธิบายวิธีการเลี้ยงหมูหลุม เด็กๆสนใจมาก


  


                              เด็กๆกำลังสนใจเรียนรู้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนของพ่อบุญเพ็ง คำเลิศ



เด็กๆและเจ้าหน้าที่ทีมงานอาจารย์ หน่วยงานต่างๆกำลังให้ความสนใจกับการปลูกไผ่หน่อไม้พันธ์หายาก


การทำปุ๋ยและดินหมักจากธรรมชาติปราศจากสารเคมี ตามหลักพืชเกษตรปลอดสารพิษของศูยน์การเรียนรู้
พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ

                           



                             สูตรน้ำหมักชีวภาพ ใช้ทำปุ๋ยพืชเกษตร ที่ศูนย์การเรียนรู้ของ พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ



โรงเลี้ยงหมู และบ่อหมักมูลหมู เพื่อใช้ทำแก๊สชีวภาพ 
ให้เป็นพลังงานผ่านท่อไปเข้าเตาแก๊ส เพื่อใช้ในกาหุงต้ม




การเลี้ยงกบคอนโดของพ่อบุญเพ็ง คำเลิศ สำหรับผู้ที่มีพื้นที่จำกัดแต่ต้องการเลี้ยงกบ โดยเลี้ยงกบในยางรถยนต์ที่เรียงตัว ซ้อนกันเป็นชั้นๆมีลักษณะคล้ายคอนโดมิเนียม อาหารที่กบกินเหลือไม่ถูกทิ้งเสียหาย จะมีการต่อท่อระบายอาหารเหลือออกลงไปยังบ่อเลี้ยงปลา เป็นอาหารปลาอีกทอดหนึ่งอย่างไรก็ตาม กบไม่สามารถไปกินปลาในสระได้ เนื่องจากมีตะแกรงปิดมิดชิด








                    เตาเผาถ่าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน กับเด็กๆที่กำลังสนใจ กำลังมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเผาถ่าน







เทคนิคจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อาศัยการเผาถ่านเกิดควันออกไปตามท่อไม้ไผ่เบุด้วยหญ้าแฝกกิดความเย็นที่ตรงปลายไม้ไผ่แล้วกลั่นมาเป็นน้ำเรียกว่า “น้ำส้มควันไม้” ใช้ประโยชน์ในการเป็นยาฆ่าแมลงโดยใช้ผสมน้ำฉีดพ่นตามลำต้นใบและดอกแมลงจะไม่มารบกวน





พ่อบุญเพ็งกำลังอธิบายให้เด็กๆและทีมงานอาจารย์หน่วยงานต่างๆฟังถึงวิธีการเผาถ่านว่าทำอย่างไรไม่ให้ถ่านที่เผาแล้วแตกหัก เปื่อยยุ่ย และเนื้อถ่านมีความแกร่งให้ความร้อนสูงเวลานำไปใช้งาน




โรงเพาะเห็ดชนิดต่างๆของ พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ ในวันที่ลงพื้นที่ไปดู โรงเพาะเห็ดได้ถูกนำดอกเห็ดเก็บออกไปเดือนที่แล้ว จึงมีจำนวนเห็ดน้อย




อาจารย์ เนตรนภา สาระวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ กำลังปรึกษาหารือกับครูของโรงเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมเยาวชนพัฒนาอาชีพ และการทำกิจกรรมการเพาะเห็ดที่ทางกองทุนการศึกษาฯโรงเรียนบ้านหนองใหญ่กำลังให้ความสนใจ




พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ กำลังอธิบายให้ทีมงานจากหน่วยงานต่างๆฟังถึง วิธีการเพาะเห็ด และเครืองมือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้และงบประมาณในการลงทุน





หลังจากเหน็ดเหนื่อย จากการศึกษาเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียงของพ่อบุญเพ็ง คำเลิศแล้ว ทุกคนเริ่มหิวทั้งเด็กๆและทีมงานจากหน่วยงานต่างๆกำลังเอร็ดอร่อยกับอาาหารที่เตรียมไว้




หลังจากศึกษาดูงานเรียบร้อย พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ ได้มอบกระเช้าผลไม้ ที่ทางท่านจัดเอง ให้ อาจารย์ เนตรนภา สาระวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองใหญ่




                         ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ มอบกระเช้าให้กับพ่อบุญเพ็ง คำเลิศ



คุณมลฤดี วิริยานนท์ ผู้ปฎิบัติงานมูลนิธิฯเป็นตัวแทนของมูลนิธิฯมอบเงินสนับสนุนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้กับ พ่อบุญเพ็ง คำเลิศ





                                          ถ่ายรูปร่วมกันของทีมงานจากหน่วยงานต่างๆและเด็กๆบางส่วน



กิจกรรมการปลูกต้นไม้ในโรงเรียนของโครงการทุนการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชนของมูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555




มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชนโดย คุณวุฑฒี เย็นฤดี ผู้จัดการมูลนิธิฯ อาจารย์ เกษมศานต์ ศรีโพนทอง และศูนย์การเรียนรู้มหาวิชชาลัยธรรมชาติ โดย อาจารย์ อุดม บัวเกศ และ ร้อยตำรวจตรี วิชัย สุริยุทธ เข้าพบ คุณ ไพบูลย์ ศรีสุธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา เขต 4 เพื่อเชิญสำนักงานเขต พื้นที่ 4 เข้าร่วมกิจกรรมการปลูกต้นไม้ในโรงเรียนตามโครงการโรงเรียน และชุมชนสีเขียวกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนที่มีกองทุนการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชนจำนวน 20 โรงเรียนในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีรสะเกษ ซึ่งท่านผู้อำนวยการได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีพร้อมให้ความเห็นแนะนำถึงแนวคิดในการทำกิจกรรมการปลูกต้นไม้ในครั้งนี้ และพร้อมจะให้การสนับสนุนกิจกรรมตามบทบาทของหน่วยงานราชการ





ผู้บริหารของมูลนิธิ พศช.โดยคุณวุฑฒี เย็นฤดี ผู้จัดการมูลนิธิฯและ อาจารย์เกษมศานต์ ศรีโพนทอง กรรมการมูลนิธิฯและผู้บริหารของมหาวิชชาลับธรรมชาติ โดย อาจารย์ อุดม บัวเกศ และ ร...วิชัย สุริยุทธ ได้เข้าพบผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษเพื่อสำรวจ ดูพื้นที่ในโรงเรียนว่าจะปลูกต้นไม้ยืนต้นเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้อย่างไร









ตัวแทนจาก มูลนิธิฯ และมหาวิชชาลัยธรรมชาติ หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจแล้วได้เดินทางมารับประทานอาหารร่วมกันที่บริษัท พศช. ผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด และประชุมปรึกษาหารือกันถึงแนวทางในการสร้างสรรค์ กิจกรรม โรงเรียนสีเขียว เพื่อตอบสนองตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในเรื่อง ปลูกต้นไม้ รักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ